XYZ

แนวเพลง ป็อป, ป็อปร็อก

ปี พ.ศ. 2524-2534

ค่าย แกรมมี่, สโมสรผึ้งน้อย

ส่วนเกี่ยวข้อง OHO, เควสชั่น

สมาชิก

  1. เกศนีย์ ชุมชัย (อ้อ) : กีต้าร์, ร้องประสาน (2524-2533)
  2. สุรีย์ภรณ์ ปุญญมาโนชญ์ (โบว์) : เบส, ร้องนำ (2524-2533)
  3. สุคนธา วงษ์สงวน (หนึ่ง) : คีย์บอร์ด, กลอง (2524-2533)
  4. วนิดา วิมลวัฒนาภัณฑ์ (เอ๋) : คีย์บอร์ด, ร้องนำ (2524-2533)
  5. สุธีรา โรจนสันติ (ติ๊ก) : คีย์บอร์ด, ร้องนำ (2527-2533)
  6. สัมฤทธิ์ สนเพ็ชร (ต่อ) : กลอง, ร้องนำ (2524-2530)
  7. พละพงษ์ ปทุมานันท์ (อุ้ม) : กลอง (2531-2533)

ประวัติ

เดิมที เอ็กซ์วายแซด ใช้ชื่อวงว่า แกรนด์ XYZ มีสมาชิกด้วยกัน 5 คน คือ เกศนีย์ ชุมชัย (อ้อ), สุรีย์ภรณ์ ปุญญมาโนชญ์ (โบว์), สุคนธา วงษ์สงวน (หนึ่ง), วนิดา วิมลวัฒนาภัณฑ์ (เอ๋) และ สัมฤทธิ์ สนเพ็ชร (ต่อ) อัลบั้มชุดแรก ออกมาในปี พ.ศ. 2524 ชื่อชุดว่า รถไฟมีปีก ภายใต้การดูแลของประชา พงศ์สุพัฒน์ สิ่งที่เป็นจุดเด่นของวงช่วงนั้นคือ การที่สมาชิกร้องเพลง ถือกีต้าร์ปลอม และแสดงลีลาเสมือนเล่นดนตรีจริง

อัลบั้มชุดที่ 2 ในชื่อชุด คิดไม่ออก ออกในปี พ.ศ. 2525 - 2526 ประสบความสำเร็จอย่างมาก ชุดนี้นอกจากจะได้รับการดูแลจากประชา พงศ์สุพัฒน์ เช่นเดิมแล้วยังได้นักดนตรีฝีมือดีจากกลุ่มบัตเตอร์ฟลายมาช่วยทำดนตรีในอัลบั้ม และนอกจากเพลงดัง คิดไม่ออก ซึ่งชื่อเดียวกับอัลบั้มแล้วยังมีเพลง เอาไปเผา มีเนื้อหากล่าวถึงโทษของยาเสพติด ที่โด่งดังมากในยุคนั้น

ในปี พ.ศ. 2527 ได้ออกผลงานอัลบั้มชุดที่ 3 ในชื่อชุด อยู่กับยาย ในชุดนี้ ได้มีการเปลี่ยนชื่อวงให้เหลือเพียง เอ็กซ์วายแซด และมีสมาชิกใหม่เพิ่มอีก 1 คน คือ สุธีรา โรจนสันติ (ติ๊ก) รวมทั้ง การเลิกใช้กีต้าร์ปลอม แต่หันมาเต้นให้เข้ากับจังหวะเพลงแทน แต่งานเพลงยังอยู่ภายใต้การดูแลของทีมงานชุดเดิม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ทางวงก็มีผลงานชุด ดอกไม้บานเจ้าเอย ออกมา ภายใต้สังกัดแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ อัลบั้มชุดนี้มีการเปลี่ยนแปลงในวงคือได้เริ่มเล่นเครื่องดนตรีจริงๆ กัน ที่ได้ไปร่ำเรียนดนตรีกันมาอย่างจริงจังในช่วงที่เว้นว่างจากการทำอัลบั้มไป และเนื้อหาของเพลง มีเนื้อหาที่โตขึ้น ก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ภาษาที่ใช้ในเพลงก็เป็นแบบกันเอง เหมือนภาษาพูดในหมู่วัยรุ่น เข้าใจง่ายๆ มีเพลงดังอย่าง สบายดีหรือเปล่า นอกจากนี้ก็ยังมีเพลง ไม่กลัวไม่สวย เมินซะเถอะ และ ขอให้เป็นเช่นวันก่อน

อัลบั้มต่อมาของเอ็กซ์วายแซด คือชุด นี่แหละ...เพื่อน ซึ่งออกมาในปี พ.ศ. 2531 มีการเปลี่ยนแปลงตัวสมาชิกจาก ต่อ มาเป็น อุ้ม - พละพงษ์ ปทุมานันท์ อัลบั้มชุดนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเพื่อน อันเนื่องมาจากสมาชิกในเอ็กซ์วายแซด กำลังจะสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยม มีเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม นี่แหละ...เพื่อน เพลง กว่าจะรัก หรือ กำลังใจ และเพลง กว่าจะรัก ก็ถูกนำกลับมาร้องและเรียบเรียงใหม่โดยนักร้องในรุ่นปัจจุบันอยู่หลายครั้ง

ปี พ.ศ. 2532 ออกอัลบั้มชุด แว๊บเดียว มีเพลงที่เกี่ยวกับความรักมากขึ้น เช่นเพลง แอบเจ็บ นานแล้วนะ หรือ ก็มันเหงา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 เอ็กซ์วายแซดได้มีอัลบั้มชุดสุดท้ายออกมาในชื่อชุดว่า กุ๊ก กุ๊ก กู๋ ที่ยังคงความสดใสด้วยเพลงสนุกสนานอย่าง กุ๊ก กุ๊ก กู๋ เพลงรักเศร้าๆ อย่าง วันฝนพรำ และเพลงที่ตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อย่าง เจ้าพระยา

แล้วสมาชิกของวงเอ็กซ์วายแซดก็ได้แยกย้ายกันไปตามเส้นทางของแต่ละคน โดยในปี 2542 ส่วนหนึ่งของสมาชิกวงเอ็กซ์วายแซด คือ เอ๋, อ้อ, และ โบว์ ได้ร่วมกับ หนุ่ย - นันทกานต์ ฤทธิ์วงศ์ ออกอัลบั้มมาในนามของวง OHO ชื่อชุด โอโฮ โอโฮ จากการชักจูงของ อัสนี โชติกุล ผู้ที่เคยอยู่เบื้องหลังผลงานหลายๆ ชุดของเอ็กซ์วายแซด

การรวมตัวกันหลังจากแยกย้ายกันของสมาชิกวงในโอกาสพิเศษมีมาเรื่อยๆ เช่น งาน Music Legend Concert เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ที่ เอ๋ และ โบว์ ได้ร่วมร้องเพลง สบายดีหรือเปล่า และ แอบเจ็บ และยังเคยเป็นแขกรับเชิญพิเศษ ร่วมร้องเพลง กว่าจะรัก กับ ทีมนักแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง Final Score 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอนท์ ในวันแถลงข่าวเปิดตัวภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว เมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ล่าสุดในปี พ.ศ. 2551 เอ๋, อ้อ, โบว์ ได้ปรากฏตัวในรายการ คืนนี้ วันนั้น ทาง ช่อง 5 เมื่อเดือนพฤษภาคม

ปัจจุบัน เอ๋ เป็นเพียงคนเดียวในวงที่ยังมีงานร้องเพลงออกมา ในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น งานรวมเพลงศิลปิน ค่าย โน มอร์ เบลท์ ที่ชื่อ Belter 1.0 ในปี พ.ศ. 2547 และ ร่วมร้องรับเชิญให้กับศิลปิน พอร์ทเทรต (Portrait) อัลบั้ม ป็อปเทรท (Pop Trade) เพลง เพราะว่าเรามีเรา ปีเดียวกัน และงานล่าสุดของเอ๋ คือ อัลบั้ม รวมศิลปิน Event of Love ที่ เอ๋ ได้ขับร้องเพลง วันพักผ่อน

ผลงาน

รถไฟมีปีก (พ.ศ. 2524)

(คำร้อง-ทำนอง : ประชา พงศ์สุพัฒน์)

  • รถไฟมีปีก
  • บัวตูม บัวบาน
  • บัวน้อยคอยแปรง
  • ทะเล
  • เลขข้อนี้
  • ฉันมีรถคันหนึ่ง
  • คนจริงต้องจริงใจ
  • ลุงปลูกอะไร
  • เครื่องจักร
  • พระอาทิตย์มาคอย
  • นก
  • อย่าคิดคนเดียว
  • ทำเอง
  • ประตูครวญ

คิดไม่ออก(พ.ศ. 2525)

(คำร้อง-ทำนอง : ประชา พงศ์สุพัฒน์ ดนตรี : บัตเตอร์ฟลาย บันทึกเสียง : ศรีสยาม)

  • คิดไม่ออก
  • ไม่เป็นไร
  • เอาไปเผา
  • ลอยไปในอากาศ
  • ดวงดาว
  • สายรุ้ง'25
  • ผมรักครู
  • หิวจัง
  • ปล่อยเขาไป
  • ฝนเอย
  • สายรุ้ง'26

อยู่กับยาย(พ.ศ. 2527)

(คำร้อง-ทำนอง : ประชา พงศ์สุพัฒน์ ดนตรี : บัตเตอร์ฟลาย บันทึกเสียง : เสียงทอง)

  • จะไปไหน
  • อยู่กับยาย
  • ปรับปรุงใหม่
  • ผิดหวัง
  • โปรดเห็นใจ
  • วันเบิกบาน
  • กินลม ชมเมือง
  • ไอติม
  • ไอศครีม
  • เพื่อนใจ

ดอกไม้บานเจ้าเอย(พ.ศ. 2530)

(โปรดิวเซอร์ : กริช ทอมมัส บันทึกเสียง : แจม สตูดิโอ)

  • สบายดีหรือเปล่า
  • เจ้าดอกไม้บาน
  • ชื่นใจจริงนะ
  • แสงดาวกับสายลม
  • ไม่กลัวไม่สวย
  • ฝากดาว
  • ใครใคร
  • ขอให้เป็นเช่นวันก่อน
  • เมินซะเถอะ
  • ภาพเก่า

นี่แหละเพื่อน(พ.ศ. 2530)

(โปรดิวเซอร์ : กริช ทอมมัส บันทึกเสียง : แจม สตูดิโอ)

  • นี่แหละเพื่อน
  • กว่าจะรัก
  • โอเคอยู่แล้ว
  • คิดถึงใครไม่รู้
  • ตุ๊กตาตัวเก่า
  • วาดไว้ให้เธอ
  • จะไปคืนดี
  • เก็บเม็ดฝน
  • โอ๋ทั้งปี
  • กำลังใจ

แว๊บเดียว(พ.ศ. 2532)

(โปรดิวเซอร์ : กริช ทอมมัส บันทึกเสียง : แจม สตูดิโอ)

  • แว๊บเดียว
  • ไปนะ ไปนะ
  • นานแล้วนะ
  • แอบเจ็บ
  • วันนี้ดีที่สุด
  • หนอน
  • หัวใจล็อกแล้ว
  • ก็มันเหงา
  • ช่วยทีนะลม
  • ก็ใครล่ะ

กุ๊ก กุ๊ก กู๋(พ.ศ. 2533)

(โปรดิวเซอร์ : กริช ทอมมัส บันทึกเสียง : แจม สตูดิโอ)

  • กุ๊ก กุ๊ก กู๋
  • ให้ไปคิดดู
  • เจ็บช้ำช้ำ
  • ยอมรับความจริง
  • ยังมีไฟอยู่
  • โบยบินไปกับเธอ
  • อย่าบอกกันเลย
  • เฮฮาสามัคคี
  • เจ้าพระยา
  • วันฝนพรำ