ลานนา คัมมินส์ Lanna Commins

ชื่อเกิด ลานนา เวชานนท์ คัมมินส์

ชื่อเล่น นา

วันเกิด 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 (29 ปี)

แหล่งกำเนิ ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร 

แนวเพลง ป็อป

ค่าย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

ลานนา คัมมินส์ เริ่มร้องเพลงครั้งแรก ที่ร้านเฮือนสุนทรี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นร้านของแม่ จนมีทีมงานของแกรมมี่ให้ความสนใจจากการที่ไปนั่งฟังเพลงที่ร้อง จึงชักชวนให้ลานนาได้เข้ามาสู่วงการงานเพลง และสร้างผลงานเพลงที่มีเอกลักษ์เป็นของตัวเอง โดยการผสมผสานจากเครื่องดนตรีพื้นบ้านทางภาคเหนือ กับดนตรีสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะเพลงที่มีเนื้อหาเป็นภาษาคำเมือง

การศึกษา เรียนจบที่ Chiang Mai International School

ความชอบส่วนตัว อ่านหนังสือ ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต

ความสามารถพิเศษ ขี่ม้า เล่นดนตรีทางพื้นเมืองในภาคเหนือ

ผลงานเพลง

อัลบั้มที่ 1 : ลานนา คัมมินส์ (2547) ซึ่งประกอบไปด้วยเพลง

สวัสดีเจ้า

ผู้หญิงธรรมดา

ไว้ใจ๋ได้กา

ทำไม

นะนะ

กาสะลอง

ที่สุดของฟ้า

ที่บุบสลายจริง ๆ คือจิตใจ

ตอบให้ตรงคำถาม

มาไม้ไหน

ไม่มีทางรู้เลย

ลูกไม้หล่นใกล้ต้นอีกคนหนึ่ง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจและต้นแบบจากคุณแม่ “สุนทรี เวชานนท์” แต่สิ่งหนึ่งที่เธอต่างจากคุณแม่ คือการผสมผสานระหว่างความเป็นตะวันออกและความเป็นตะวันตกเข้าด้วยกัน แนวเพลงที่ออกมาของอัลบั้มนี้จึงเป็นแบบ World Music ที่แปลกใหม่ ทันสมัย แต่สัมผัสถึงอารมณ์ของคนพื้นเมือง ส่วนผสมที่น่าสนใจ ระหว่างดนตรีตะวันตกกับดนตรีล้านนา รวมถึงภาษาคำเมืองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทำให้รู้สึกสะดุดหู เพลงน่าสนใจอาทิ สวัสดีเจ้า นะนะ ไว้ใจ๋ได้กา และ กาสะลอง

อัลบั้มที่ 2 : ยินดีปีระกา (2548)

ยินดีปีระกา

แค่เข้าใจ

แมลงปอหลงลม

ไม่รัก ไม่ว่า

คำตอบในสายลม

บ่เป็นจะใด

รักฉันนาน ๆ

เข็ด

ไม่มีรอบสอง

รักล้ำ

กลับมาทักทายแฟนเพลงอีกครั้งพร้อมอัลบั้มชุดที่ 2 ที่ชื่อว่า “ยินดีปีระกา” มีมิตรสหายมาร่วมต่อเติมสีสันให้มีรสชาติ โดยยึดแนวเพลงเป็นที่ตั้ง และเฟ้นหาคนที่ใช่มาทำเพลงนั้น นับตั้งแต่ คนเขียนเนื้อเพลง คนเรียบเรียงดนตรี และคนที่มาร่วมร้องมาร่วมแร็พ ดูแลควบคุมโดยโปรดิวเซอร์คนเก่ง ตุ่น-พนเทพ สุวรรณะบุณย์ ภาคดนตรีของอัลบั้มนี้มีการเพิ่มสีสันความจัดจ้านและลูกเล่นมากขึ้น เช่นการใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองเข้ามาช่วยอย่าง สะลอ ซอ ซึง และ พิณเปี๊ยะ เพลงที่น่าสนใจอย่างเพลงเปิดตัวที่ชื่อว่า “ยินดีปีระกา” ที่จำลองบรรยากาศการเฉลิมฉลองเทศกาลวันดี ปีระกา เดือนเจ็ด วันจันทร์ อันถือเป็นวันเถลิงศกมหาสงกรานต์ของชาวเหนือล้านนา คึกคักด้วยจังหวะของดนตรี ที่ตั้งใจจะร่วมมิตรชาวเหนือไว้ด้วยจังหวะของขบวนแห่ ตั้งแต่เริ่มไปจนถึงท่อนกลางที่เปลี่ยนเป็นจังหวะเต้นรำของชาวเขา ที่เขียนคำร้องพื้นเมืองโดย ชนะ เสวิกุล พร้อมท่อนแร็พจาก “กอล์ฟ สิงห์เหนือเสือใต้” ที่ฟังเดโมครั้งแรกก็ขอร่วมด้วยทันที โดยลงมือเขียนท่อนแร็พเองในแบบว้ากเกอร์ เพลง แค่เข้าใจ ที่ได้ “แอม- เสาวลักษณ์ ลีละบุตร” มารับหน้าที่เขียนคำร้องให้ เพื่อบอกเล่าความคิดของผู้หญิงยุคนี้ ที่ได้ “อ้อม- สุนิสา สุขบุญสังข์” มาร่วมร้อง และได้ เอมี่ นักร้องที่ก้าวมาจากเวที อเมริกัน ไอดอล มาร่วมแร็พให้ ในส่วนของการเรียบเรียงมีการเพิ่มเติมบีตดนตรีที่ทันสมัย ด้วยฝีมือดีเจ มา จากวง MAF เพลง ไม่รัก ไม่ว่า ที่มีสำเนียงดนตรีคันทรีจากฝั่งตะวันตกแบบพื้นเมืองอเมริกันผสมผสานไปกับท่วงทำนองไทยๆ และเพลง บ่เป็นจะได ที่เริ่มบรรเลงด้วยเสียงใสๆ ของเปียโน เครื่องสายตะวันตก และใช้ ซึง เครื่องดนตรีพื้นบ้านประสานทั้งหมดไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีเพลง รักล้ำ ที่ได้เครื่องดนตรีพื้นเมืองแบบออเรียนทอล สไตล์ อย่าง สะลอ ซอ ซึง และ พิณเปี๊ยะ บรรเลงควบคู่ไปกับวงออเคสตร้า

อัลบั้มที่ 3 : Happy Trip (2549)

จ้องตากับความเหงา

หนุ่มใต้ สาวเหนือ

ก่อนจากกัน

ป้อจาย รวนเร

ปล่อยให้ฉันร้องไห้ (Just Let Me Cry)

ผู้ชายปากแข็ง

ขวัญเอย

เมื่อไหร่อ้ายจะเข้าใจ

เสื้อแห่งความสุข (นิทาน ตอสตอย)

อย่าลืมฉันนะ

อัลบั้มลำดับที่ 3 ของนักร้องสาวลูกครึ่งไทยออสเตรเลีย ลานนา คัมมินส์ ที่นำประสบการณ์ ความสุข ที่ได้จากการเดินทางไปเที่ยวจากที่ต่างๆ มาเป็นแนวคิดในการทำงานเพลง แฝงเสน่ห์ไว้ในเรื่องของภาษาและท่วงทำนอง ที่สอดแทรกวัฒนธรรมในภาพลักษณ์แบบสาวล้านนาไว้เช่นเคย จ้องตากับความเหงา เพลงเปิดตัวในอัลบั้มนี้ ที่เหมาะสำหรับให้กำลังใจคนที่กำลังอ่อนแอในความรัก เนื้อหาของเพลงบ่งบอกความอดทนและต้องทำใจให้ชิน เมื่อต้องเผชิญกับความเหว่ว้าหลังจากที่เขาจากไป ตามด้วยเพลงจังหวะสนุกๆ ที่มีกลิ่นอายของดนตรีเร็กเก้อย่าง หนุ่มใต้สาวเหนือ ที่ผสมผสานความเป็นภาคใต้กับภาคเหนือได้อย่างลงตัว และเพลงเนื้อหาดีๆ เสื้อแห่งความสุข ที่มีเนื้อหามาจากนิทาน ตอลสตอย แอบแฝงข้อคิดว่าสุขทุกข์อยู่ที่ใจไว้ให้คนฟังด้วย

อัลบั้มที่ 4 : N/A (2550)

พิราบรำพัน

เมื่อดอกรักบาน