เบิร์ด กะ ฮาร์ท

แหล่งกำเนิด ประเทศไทย กรุงเทพประเทศไทย

แนวเพลง ป็อป อีซี่ ลิสซึ่นนิ่ง

ปี 2528 - 2539, 2549

ค่าย ไนท์ สปอท

คีตา เรคคอร์ดส

ร่องเสียงลำไย

สไปซีดิสก์

สมาชิก

กุลพงษ์ บุนนาค (เบิร์ด) ร้องนำ

สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล (ฮาร์ท) ร้องนำ / กีต้าร์

คู่ดูโอชายจากยุคแปดศูนย์ที่มีความโดดเด่นมากที่สุดในยุคของพวกเขา ปัจจุบันบทเพลงของทั้ง

คู่ก็ยังได้รับการยอมรับถึงมาตรฐานในการสร้างดนตรีที่เป็น ดนตรี จริงๆ คอนเสิร์ตที่จัดการแสดง ขึ้นในยุคเก้าศูนย์ก้าวล่วงมาถึงยุคสองพัน แม้จะเป็นช่วงที่ไม่มีงานใหม่ออกมาก็ได้รับการต้อนรับ จากแฟนเพลงอย่างอบอุ่นแสดงถึงฐานผู้ฟังที่มีอยู่อย่างเหนียวกลุ่มหนึ่งที่ติดตามผลงานของทั้งคู่ มาโดยตลอด

เบิร์ด-กุลพงศ์ บุนนาค เกิดวันที่ 27 พ.ย. 2506 ที่โรงพยาบาลจุฬา เป็นน้องคนสุดท้องจากจำนวน

พี่น้อง 5 คน เรียนระดับประถมถึงมัธยมต้นที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ไปเรียนต่อระดับมัธยมปลาย ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จบปริญญาตรีด้านการตลาด UCLA และปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จาก California State University

ฮาร์ท-สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล เกิดวันที่ 27 พ.ย. 2507 ที่โรงพยาบาลศิริราช มีน้องชายอีกคน

ชื่อเฮด เรียนชั้นประถมที่โรงเรียนเซนต์จอห์น เรียนระดับมัธยมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จบระดับ ปริญญาตรีด้าน เศรษฐศาสตร์ที่ UCLA และปริญญาโทจาก University of Southern California ในสาขาเศรษฐศาสตร์เช่นกัน

เบิร์ดพบกับฮาร์ทครั้งแรกในปี 2526 ที่ UCLA ทั้งคู่ชอบฟังและเล่นดนตรี เบิร์ดแต่งเพลงมาก่อน

ฮาร์ทและเป็นแรงบันดาลใจให้ฮาร์ทเริ่มเขียนเพลงบ้าง ปี 2527 ไนท์สปอตส่ง มาลีวัลย์และชรัส มาบันทึกเสียงที่ Melrose ข่าวนี้เข้าหูทั้งสองหนุ่ม ทั้งคู่รู้สึกตื่นเต้นที่มีนักร้องจากประเทศบ้านเกิด บินมาบันทึกเสียงถึงที่นี่ ตรงนี้น่าจะเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งว่าตลาดผู้ฟังเพลงไทยน่าจะมีการพัฒนามาก ไปกว่าตอนที่พวกเขาจากบ้านเกิดมาศึกษาต่อที่นี่มากทีเดียว ทั้งสองคนจึงมีความคิดที่จะทำเดโม เพลงที่แต่งเก็บเอาไว้สักสองสามเพลงและลองนำไปเสนอไนท์สปอตดูบ้างเมื่อถึงช่วงปิดเทอมและ ได้บินกลับไปเยี่ยมบ้าน

ปี 2528 ลืม อาลัยเธอ และ Susan Joan เป็นสามเพลงที่นำไปเสนอไนท์สปอต ทั้งสามเพลง

ถูกนำไปเปิดออกอากาศในรายการโลกสวยด้วยเพลง จัดโดย วินิจ เลิศรัตนชัย ด้วยซาวนด์ที่แตก ต่างทั้งด้านดนตรีและการร้องทำให้แฟนเพลงเริ่มถามถึงว่าใครเป็นเจ้าของผลงานเพลง และเมื่อทั้ง สองหนุ่มได้มีโอกาสมาเป็นแขกรับเชิญพูดคุยในรายการของวินิจ และได้ไปเป็นเกสท์ในคอนเสิร์ตที่ ธรรมศาสตร์ของ ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ กระแสตอบรับที่กลับมายิ่งเพิ่มสูงขึ้นไปอีก เพราะนอกจาก ตัวงานแล้วภาพพจน์ของนักเรียนนอกจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอย่าง UCLA ก็เป็นตัวเสริมให้ทั้งคู่ โดดเด่นราศีจับขึ้นมาทันที สิงหาคม 2528 ไนท์สปอตจับทั้งคู่เซ็นสัญญาเป็นเวลา 3 ปีทันที เบิร์ดกับฮาร์ทบินกลับไปเรียนต่อพร้อมกับบันทึกเสียงอัลบั้มชุดแรกในช่วงระหว่างเดือน ก.ย.-ต.ค. ใช้เวลาบันทึกเสียง 10 วัน อัลบั้มชุด ห่างไกล ก็เสร็จสมบูรณ์และออกขายในช่วงปลายปี เป็นงาน ที่ได้รับคำชื่นชมในหลายๆมิติ ถึงแม้จะใช้เวลาบันทึกเสียงในช่วงสั้นๆ แต่วัตถุดิบที่นำเสนอในงาน ชุดนี้ถูกบ่มเพาะจากทั้งคู่มานาน นักดนตรีในเซสชั่นการบันทึกเสียงเล่นออกมาได้เยี่ยม ส่วนตัวของ ผู้เขียนยกให้เป็นงานเพลงป๊อปที่ขึ้นหิ้งระดับคลาสสิกไม่เพียงแต่ในยุคนั้นเท่านั้นแต่งานชุดนี้ยังมี ซาวนด์ที่ สด และมีแนวทางเป็นของตัวเองมากๆ แม้จะนำมาฟังในตอนนี้ก็ตาม

ด้วยใจรักจริง เว้นช่วงห่างจากงานชุดแรกไม่นาน ไนท์สปอตเข้ามาร่วมดูแลการผลิตใกล้ชิดมาก

ยิ่งขึ้น การเรียบเรียงดนตรีชุดนี้ค่อนข้างพิถีพิถันและฟังยากขึ้นผลตอบรับเลยเป็นรองชุดแรก รวม ถึงจังหวะในการวางตลาดที่ออกไล่ตามชุดแรกมาติดๆเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง เพลงที่ติดหูเร็วที่ สุดจากชุดนี้คือ Goodbye Song และ เอื้อมดาว เมื่อหมดสัญญารวมถึงทางไนท์สปอตได้ปิด ตัวลง เบิร์ดแยกตัวมาทำโปรเจกต์ System 4 กับเพื่อนๆในกลุ่มซึ่งก็เป็นเพื่อนของฮาร์ทด้วย ปลาย ปี 2533 ต่อต้นปี 2534 เบิร์ดกะฮาร์ทเริ่มบันทึกเสียงงานชุดที่สาม จากกันมานาน บันทึกเสียงที่ สหรัฐอเมริกาเช่นเคย ชุดนี้ได้ออกกับค่ายคีตาเร็คคอร์ดส์ ได้รับการตอบรับที่ดีประมาณหนึ่งเมื่อ เทียบกับการที่ทั้งคู่หายหน้าหายตาไปร่วม 5 ปี รอรัก และ ฝน กลายเป็นเพลงป๊อปชั้นดีประดับ วงการเพลง เพลงที่เหลือเป็นเพลงที่มีล้วนมีลายเซ็นของฮาร์ทในการสร้างงานที่ได้รับอิทธิพลมา จากดนตรีที่เขาฟัง

ปี 2538 เบิร์ดกับฮาร์ทร่วมกันตั้ง ร่องเสียงลำไย ผลิตงานของตัวเองรวมถึงเฟ้นหานักร้องเพื่อ

ผลิตงานเข้าสังกัดด้วย พวกเขาออกอีพีชุด Moonlighting และ Simply Impossible (คัฟเวอร์ งานของ ดิอิมพอสสิเบิ้ล) ปลายปีกรีนเวฟจัด Green Concert ครั้งที่ 1 เบิร์ดกะฮาร์ทได้รับเลือก เป็นอาร์ติสท์เบอร์แรกที่โชว์ในงานนี้ บัตรขายหมดรวดเร็วจนต้องเพิ่มรอบ เป็นคอนเสิร์ตที่สมบูรณ์ แบบมากที่สุดครั้งแรกของทั้งคู่ เพลง This Song for You และ แก้วตา เป็นเพลงแต่งใหม่และ ทำเป็นซีดีมอบเป็นของที่ระลึกสำหรับผู้ซื้อตั๋วเข้าชมคอนเสิร์ต ฮาร์ทเสนอความเป็นเอนเทอเทนเนอร์ ของเขาออกมาอย่างชัดเจนในคอนเสิร์ตครั้งนี้และในเวลาต่อมาได้กลายเป็นความคาดหวังของแฟน เพลงไปโดยปริยายว่าถ้ามาชม เบิร์ดกะฮาร์ท ต้อง ขำ ด้วย Frozen in Time ชุด 1-2 เป็นบันทึก การแสดงสดออกวางจำหน่ายรับกับความสำเร็จจากกรีนคอนเสิร์ต

ปี 2542 เบิร์ดกะฮาร์ทวางอัลบั้มชุด ที่รัก และ นึกถึง ดิอิมพอสสิเบิ้ล ออกมาพร้อมๆกัน

จากนั้นพวกเขาก็หายเงียบไปจากวงการเพลงพักใหญ่ มีผลงานเพลง ถอนตัว ในอัลบั้มชุดพิเศษ ชุดหนึ่งของแกรมมี่ ต่อมาในปี 2545 เดือนพฤษภาคม คอนเสิร์ต Friendship Forever ของทั้งคู่ ถูกจัดขึ้นและบัตรขายหมดตรงนี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงศักยภาพในตัวของทั้งคู่ได้เป็นอย่างดี

ปี 2549 ค่าย Spicy Disc เป็นผู้ดูแลการ remaster ของงานชุดครบรอบ 20 ปีของเบิร์ดกะฮาร์ท

โดยได้ วู๊ดดี้ พรพิทักษ์สุข ผู้คว้ารางวัลแกรมมี่อวอร์ด ปี 2001 สาขา mastering มา remaster ให้ใหม่ ผลที่ได้คือคุณภาพของเสียงที่มีไดนามิคในมิติที่ดีขึ้นกว่าเดิมเป็นงานที่น่าสะสมมากๆ พร้อมกับออกอัลบั้มใหม่ Destiny รวมถึง Box Set Destiny ด้วย นอกจากนี้ก็มีคอนเสิร์ต Finding Susan Joan ในวันที่ 20 พ.ค.49 ที่อิมแพ็คเอรีน่าฉลองครบรอบ 20 ปีของการอยู่ใน วงการเพลงของทั้งคู่