อำพล ลำพูน (หนุ่ย)

ชื่อเกิด อำพล ลำกูล

ชื่อเล่น หนุ่ย

วันเกิด 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 (49 ปี)

แหล่งกำเนิด ประเทศไทย ระยอง ประเทศไทย

แนวเพลง ร็อก

อาชีพ นักร้อง,นักแสดง

ปี พ.ศ. 2527 - ปัจจุบัน

อำพล ลำพูน นักแสดงชื่อดัง มีผลงานสร้างชื่อมากมาย เช่น วัยระเริง น้ำพุ ข้างหลังภาพ ฯลฯ ทั้งยังประสบความสำเร็จในวงการเพลงเมืองไทย ในฐานะนักร้องวงไมโครอีกด้วย

อำพล ลำพูน (หนุ่ย) ชื่อจริงคือ อำพล ลำกูล เป็นคนอำเภอแกลง จังหวัดระยอง เกิดวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ปีเถาะ กรุ๊ปเลือดบี เป็นบุตรชายคนเล็ก มีพี่สาวสองคน ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับมาช่า วัฒนพานิช และต่อมาหย่ากันเมื่อปลายปี พ.ศ. 2540 มีลูกชาย 1 คน ชื่อ กาย นวพล ลำพูน

การศึกษา

“ หนุ่ย” จบชั้นมัธยมตอนต้น ก็ได้เข้ามาเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศิลป์ ศึกษาในสาขาวิชาศิลปะ เขามีความสนใจ ด้านดนตรีตั้ง แต่เด็ก เคยตั้งวงดนตรีโฟล์กซองกับเพื่อน ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น มัธยมปีที่ 1 หลังจาก เรียนจบที่วิทยาลัยอาชีวศิลป์ศึกษาหนุ่ย และเพื่อนจึง ร่วม กันตั้ง วงดนตรีชื่อ “ วงไมโคร”

อนุบาล : โรงเรียนรุ่งนภาพิทยา จ.ระยอง

ประถมศึกษา : โรงเรียนวัดสารนารถธรรมาราม จ.ระยอง

มัธยมศึกษา : โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร จ.ระยอง

ปวช. : โรงเรียนอาชีวศิลปศึกษา กรุงเทพมหานคร

ภาพยนตร์

อำพล ลำพูนเข้าวงการโดยเป็นนักแสดงในสังกัดของ ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น โดยการชักชวนของผู้กำกับชื่อดัง เปี๊ยก โปสเตอร์ ภาพยนตร์เรื่อง วัยระเริง เมื่อปี พ.ศ. 2527 คู่กับวรรษมน วัฒวโรดม ต่อมาในปีเดียวกันอำพล ลำพูน ก็ได้รับบทน้ำพุ ในภาพยนตร์เรื่อง น้ำพุ คู่กับนางเอกคนเดิม และได้แสดงร่วมกับเรวัต พุทธินันทน์และภัทราวดี มีชูธน กำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิทและภาพยนตร์เรื่องนี้อำพลได้รางวัลตุ๊กตาทอง สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม และรางวัลสุพรรณหงส์จากการประกวด ภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิคจาก ภาพยนตร์เรื่องน้ำพุ ในปี 2527

ภาพยนตร์เรื่องที่สาม ข้างหลังภาพ จากบทประพันธ์ของศรีบูรพา กำกับโดยเปี๊ยก โปสเตอร์ นางเอก คือ นาถยา แดงบุหงา นอกจากนี้อำพล ลำพูนยังแสดงภาพยนตร์เรื่อง ต้องปล้น , พันธุ์หมาบ้า , ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม , คู่ชื่นวัยหวาน , สองพี่น้อง , หัวใจเดียวกัน , แรงเงา , ไฟริษยา , ดีแตก , รู้แล้วหน่าว่ารัก ฯลฯ โดยส่วนใหญ่จะเล่นคู่กับพระเอกรุ่นเดียวกัน คือ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง นอกจากนี้ยังเล่นกับจินตหรา สุขพัฒน์หลายเรื่องด้วย

วงไมโคร

จึงออกอัลบั้มแรกชื่อชุด “ ร็อก เล็ก เล็ก” ออกมาในปี 2529 ซึ่งทำให้วงการเพลงไทยตื่นตัวกับดนตรี แนวร็อกมากขึ้น และสร้างชื่อเสียงให้ วงไมโครอย่างมาก มี เพลงฮิตจากงานชุดนี้ หลายเพลง เช่น รักปอนปอน , อยากจะ บอกใครสักคน และเพลง สมน้ำหน้า....ซ่านัก

และออกมาอีกหลายอัลบั้ม ดังนี้

ร็อก เล็ก เล็ก ธันวาคม พ.ศ. 2529

หมื่นฟาเรนไฮต์ มกราคม พ.ศ. 2531

เต็มถัง สิงหาคม พ.ศ. 2532

ร็อก เล็ก เล็ก (พ.ศ. 2529)

อำพล ลำพูน ร้องเอาไว้ 7 เพลง จากจำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง

อย่าดีกว่า

อู๊ดกับแอ๊ด

อยากจะบอกใครสักคน

สมน้ำหน้าซ่านัก

ฝันที่อยู่ไกล

อยากได้ดี

จำฝังใจ

หมื่นฟาเรนไฮต์ (พ.ศ. 2531)

อำพล ลำพูน ร้องเอาไว้ 8 เพลง จากจำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง

เอาไปเลย

จริงใจซะอย่าง (ร้องคู่กับกบ ไมโคร)

หมื่นฟาเรนไฮต์

พายุ

ใจโทรมๆ

บอกมาคำเดียว

ลองบ้างไหม

โชคดีนะเพื่อน

เต็มถัง (พ.ศ. 2532)

อำพล ลำพูนร้องเอาไว้ทั้งอัลบั้ม จำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง

ส้มหล่น

เรามันก็คน

คนไม่มีสิทธิ์

ดับเครื่องชน

รู้ไปทำไม

มันก็ยังงงงง

เติมน้ำมัน

รุนแรงเหลือเกิน

ถึงเพื่อนเรา

เปิดฟ้า

หลังจากนั้นอำพล ลำพูนออกแยกตัวจากวงไมโคร ในปี 2535 หนุ่ยมีอัลบั้มเดี่ยว ของเขาออกมาในชื่อ “วัตถุไวไฟ” แต่วงไมโครยังออกอัลบั้มต่อ ส่วนอำพล ลำพูนได้ทำอัลบั้มเดี่ยวกับสังกัดเดิม ต่อมาในปี 2546 วงไมโครซึ่งมีอำพล ลำพูนเป็นนักร้องนำ และสมาชิกเดิมครบ ได้กลับมาแสดงคอนเสิร์ตร่วมกัน ใช้ชื่อคอนเสิร์ตว่า Put the right hand in the right concert คอนเสิร์ตมีทั้งหมด 3 รอบ ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคม 2546 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี บัตรคอนเสิร์ตทั้ง 3 รอบนี้ จำหน่ายหมดก่อนกำหนด 4 เดือน มีผู้เข้าชมสามหมื่นกว่าคน

นักร้องเดี่ยว

วัตถุไวไฟ พ.ศ. 2535

ม้าเหล็ก พ.ศ. 2536

อำพลเมืองดี พ.ศ. 2538

ผลงานละครโทรทัศน์

มือปืน

ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น

ปมรักนวลฉวี

หัวใจและไกปืน

รางวัล

รางวัลดารานำชายดีเด่น จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเอเชีย-แปซิฟิค

รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม ปีพุทธศักราช 2527 จากภาพยนตร์ เรื่อง น้ำพุ

รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม ปีพุทธศักราช 2541 จากภาพยนตร์ เรื่อง เสือ โจรพันธุ์เสือ

รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม ปีพุทธศักราช 2542 จากภาพยนตร์ เรื่อง โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน

รางวัลพระสุพรรณหงส์ สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม ปีพุทธศักราช 2542 จากภาพยนตร์ เรื่อง อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร

รางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขาดารานำชายดีเด่น ปีพุทธศักราช 2542 จากละคร เรื่อง มือปืน

รางวัลเมขลา สาขาผู้แสดงนำชายดีเด่น ปีพุทธศักราช 2544 จากละคร เรื่อง ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น