Blue Scale And Mode

Blue Scale And Mode

blue สเกลได้จากไมเนอร์เพนตาโทนิคสเกลโดยเพิ่มโน็ต b5 ของสเกลเมเจอร์เข้าไป ซึ่งโน๊ตที่ใส่เพิ่มลงไปนี้เรียกว่า blue note หรือ passing note หรือโน๊ตผ่าน 

ซึ่งจะใช้ช่วยเสริมให้สเกลมีเสียงที่แตกต่างออกไปจากไมเนอร์เพนตาโทนิค ซึ่งมักจะไม่ใช้โน๊ตตัวนี้เป็นตัวจบในเพลง เพียงแต่ใช่เป็นตัวเชื่อมระหว่างโน๊ตในการเล่นเท่านั้น สเกลนี้มีประโยชน์อย่างมากมักใช้ในเพลงร็อคหรือบลูส์ โครงสร้างของบลูส์สเกลคือ

คราวนี้มาดูโหมดต่าง ๆ ของบลูส์สเกลบ้างนะครับ ซึ่งประกอบด้วย 5 โหมด ได้แก่

Mode 1 1 b3 4 5 b7
Mode 2 1 2 3 5 6
Mode 3 1 2 4 5 b7
Mode 4 1 b3 4 #5 b7
Mode 5 1 2 4 5 6

หรือจัดเป็นแพทเทิร์นได้ดังนี้นะครับ

            คราวนี้เพื่อน ๆ ก็ได้รู้จักสเกลเพิ่มอีก 3 สเกลในส่วนนี้ซึ่งมีความสำคัญทั้ง 3 สเกลเลยนะครับ โดยเฉพาะผู้ที่สนใจเพลงแนวคันทรี บลูส์หรือร็อค น่าจะศึกษาสเกลเหล่านี้ให้มาก ๆ ครับ

            สเกลหลัก ๆ ที่สำคัญ ๆ คงจะหมดแค่นี้ซึ่งผมก็ได้พยายามแนะนำรายละเอียดของสเกลต่าง ๆ พอสมควร แต่ก็คงไม่ลงลึกมากเพราะถ้าให้ผมลงลึกมากกว่านี้คงต้องให้ผมไปเรียนก่อนครับ ก็เอาแค่พอรู้จักคร่าว ๆ นะครับ ถ้าใครสนใจก็อาจไปหาหนังสืออ่านเพิ่มเติมหรือถ้ามีโอกาสไปเรียนได้เลยก็ยิ่งดีครับ ในส่วนต่อไปผมคงจะแนะนำเรื่องสเกลประเภทอื่น ๆ บ้างนะครับไว้ประดับความรู้หรืออาจจะเอามาประยุกต์ใช้เองก็ได้ครับ